“สควิดเกม เกมลุ้นตาย” คืออะไร ทำไมถึงขึ้นเป็นอับดับ 1 ของ Netflix
สควิดเกมคืออะไร
“สควิดเกม เกมลุ้นตาย” หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Squid Game ที่คนไทยตั้งชื่อเล่นน่ารัก ๆ ซึ่งขัดกับเนื้อหาภายในเรื่องแบบคนละซีกฝาก ว่าเกมปลาหมึก (หมึก ไม่ใช่ปลาแต่อย่างใด) นั้นได้แซงหน้าซีรี่ส์ฉิงรักหักสวาทของชนชั้นสูง ซีรี่ส์แนวพีเรียดไปอย่าง “บริดเจอร์ตัน” ไปแบบขาดลอยหลังจากปล่อยตัวออกมาไม่นาน โดยสควิดเกมนั้นเป็นซีรี่ส์ที่ทางประเทศเกาหลีใต้ได้ทุนร่วมลงทุนกับ Netflix แพล็ตฟอร์มเอ็นเตอร์เมนท์ออนไลน์ยักษ์ใหญ่ของโลกที่เติบโตขึ้นทุกปี ๆ โดยหลังจากปล่อยฉายไม่ได้ไม่นาน สควิดเกม ก็ทะยานขึ้นแท่นซีรี่ส์ยอดนิยมในกว่า 90 ประเทศทั่วโลก ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นประเทศในแถบเอเชียทั้งสิ้น

เรื่องราวของชนชั้นแรงงานในประเทศเกาหลีใต้ที่ต้องดิ้นรนเพื่อให้มีชีวิตรอดในเมืองศิวิไลซ์ ที่ที่ซึ่งพัฒนาการทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรมบันเทิง เศรษฐกิจนั้นแลเจริญสุด ๆ ในสายตาของประชาคมโลก แต่ภายในรูปลักษณ์อันสวยงามเหล่านั้นกลับมีความทุกทรมานซ่อนอยู่อย่างมากล้น ภายในซีสี่ส์ควิดเกมนั้นได้นำเสนอเรื่องของความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในประเทศเกาหลีใต้ที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเหมือนมันจะไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ ประชากรกว่า 17% ของเกาหลีใต้มีชีวิตอยู่อย่างยากไร้ ไม่มีอาหาร ไม่มีงาน หรือแม้กระทั่งบ้านให้พักอาศัย บางคนนั้นต้องอาศัยอยุ่ข้างถนน แม้จะมีประวัติการศึกษา มีประสบการณ์ทำงาน การมีชีวิตแบบปกติสุขในเกาหลีใต้ก็ยังคงไม่ใช่เรื่องง่ายแบบนั้น
กลุ่มวัยรุ่นของเกาหลีใต้ถึงกับขนานนามให้กับเมืองหลวงใหญ่อย่างโซล ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางในฝันของเหล่านักท่องเที่ยวทั่วโลกว่า “โซชอน นรกบนดิน” เพื่อแสดงถึงสภาพปัจจุบันของเกาหลีใต้ที่ยากต่อการดำรงชีพและการหล่อเลี้ยงความหวังของชีวิตให้อยู่รอดและเติบโตได้ เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ประชากรของเกาหลีใต้เองไม่มีความสุขในการอยู่ในประเทศบ้านเกิด แม้ผู้คนรอบนอกจะบอกว่าพวกเขานั้นแสนโชคดีเหลือเกินที่เกิดในประเทศแห่งนี้ นอกเหนือไปจากเรื่องความเหลื่อมล้ำในแง่ของเศรษฐกิจการเงินแล้ว ภายในเรื่องยังคงนำเสนอถึงประเด็นปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิความเท่าเทียมระหว่างชายหญิง ความเกลียดชังต่อเพศหญิง ปัญหาแรงงานชายขอบ หรือจะเป็นเรื่องผู้แปรพักตร์จากเกาหลีใต้ การเลือกปฎิบัติ และความเคลือบแคลงใจของชาวเกาหลีใต้ต่อแรงงานต่างถิ่น การทุตจริต และการใช้อำนาจเพื่อช่วยเหลือพวกพ้องในทางมิชอบ ทุกเรื่องราวปัญหาที่ซ่อนอยู่ใต้พรม ได้ถูกนำเสนอแก่ชาวโลกผ่านซีรี่ส์ควิดเกมเรื่องนี้ได้อย่างเรียบง่าย และสามารถย่อยได้สบาย ๆ เพราะทีมผู้จัดทำเรียกได้ว่า เคี้ยว มาให้คนดูแล้วเรียบร้อย เหลือเพียงกลืนลงไปก็เท่านั้น

เรื่องย่อ “สควิดเกม เกมลุ้นตาย”
ในสภาพเศรษฐกิจอันเลวร้าย ความเหลื่อมล้ำที่สูงขึ้นทุกชั่วคณะ ทำให้มีผู้คนจำนวนมากตกอยู่ในที่นั่งลำบากและต้องการดิ้นรนเพื่อมีชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้สวิดเกมจึงได้อุบัติขึ้นเพื่อเป็นดังแสงสว่างสุดท้ายของเหล่าผู้คนเหล่านั้น โดยในสวิดเกมได้รวบรวมผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 456 ชีวิต เพื่อเข้าชิงเงินรางวัลที่จะเปลี่ยนชีวิตของพวกเขาเหล่านั้นไปตลอดกาลถึง 456 ล้านวอน หรือราว ๆ 1,200 ล้านบาท จะเห็นว่าทีมผู้เขียนให้ค่าชีวิตของเหล่าผู้เข้าแข่งขันอยู่ที่คนละ 1 ล้านวอน หรือราว ๆ 27,000 บาทเท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำกว่าแรงงานขั้นต่ำที่ได้รับในแต่ละเดือนเสียอีก
โดยผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนนั้นมีพื้นเพที่แตกต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริษัทที่ตกอับจากการ เล่นพนัน เพื่อให้ครอบครัวกลับมาเชื่อถือเจ้าตัวอีกครั้ง หญิงแปรพักร์จากเกาหลีใต้ที่ต้องพลัดพากจากครอบครัวและหวังว่าเงินรางวัลครั้งนี้จะทำให้ครอบครัวเธอกลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง แรงงานถูกกฎหมายต่างชาติชาวปากีสถานที่ถูกนายจ้างเบี้ยวค่าจ้างมาหมายเดือนและกำลังจะอดตาย และอื่น ๆ อีกมากมาย
ภายในเรื่องได้ผสมเรื่องราวที่เคยเป็นดั่งช่วงเวลาอันหอมหวานมาใช้เป็นเกมในการแข่งขัน โดยจะนำกิจกรรมที่ชาวเกาหลีใต้คุ้นเคยกันดีมาใช้เล่าดำเนินเรื่อง แต่มันคงไม่ใช่สควิดเกม เกมลุ้นตาย หากไม่มีใครตายจริง ๆ เพราะกฎกติกาของเกมนี้ไม่ได้ง่ายเหมือนที่เล่นตอนเด็ก ๆ อีกต่อไปแล้ว ที่ผู้เล่นแพ้ก็แค่ออกจากเกมแล้วรอเล่นรอบใหม่ แต่ในสควิดเกม ผู้เล่นที่แพ้จะต้อง “ตาย” เท่านั้น และนี่เองก็อาจะเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมซีรี่ส์ปลาหมึกนัน้นถึงถูกจัดให้มีเนื้อหาที่รุนแรง แม้ว่าพล็อตเรื่องจะไม่ได้แปลกใหม่อะไร แต่ก็ถือว่าวิธีการเล่าเรื่องแบบนี้ในปัจจุบันอาจจะยังไม่ได้มีเยอะมากนัก โดยมีชาวเน็ตหลายคนบอกว่าเนื้อเรื่องแบบนี้มีมานานมากแล้ว และเจ้าต้นตำรับจริง ๆ มาจากประเทศญี่ปุ่นอย่างเรื่อง “As the gods will” แต่ตัวละครจะเป็นนักเรียนมัธยมปลายแทน ซึ่งแนวคิดพื้นฐานของเรื่องนั้นไม่ได้แตกต่างกันสักเท่าไหร่ โดยมันก็เริ่มต้นมาจากความเหลื่อมล้ำและการแข่งขันที่สูงมาก ๆ ในสังคมนี่หล่ะ ดังนั้นโลก (หรือบางคนอาจจะตีความว่าโลกที่ว่าก็คือเหล่าผู้กุมอำนาจ) กลัวว่าตัวเองจะสูญเสียอำนาจในการปกครองไป เพราะเมื่อคนไม่มีอะไรจะต้องเสีย ผู้คนจะรู้แล้วว่าศัตรูที่แท้จริงของเขา ไม่ใช่ประชากรเพื่อนร่วมประเทศที่ต้องดิ้นรนชีวิตเฉกเช่นเดียวกับตัวเอง แต่คือผู้ที่กุมทรัพยากรทั้งหมดไว้ และใช้มันไปอย่างฟุ่มเฟือยไปเพื่อตัวเองก็เพียงแต่เท่านั้น
ดังนั้นเพื่อไม่ให้คนเหล่านั้นรู้ตัวว่าศัตรูที่แท้จริงคือใคร เหล่าผู้กุมอำนาจจึงได้สร้างเกมเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อลดประชากรเหล่านั้นลง โดยที่ตนยังคงสถานะของตัวเองเอาไว้ได้ และด้วยความที่ว่ามันเป็นเกม มันก็คงสร้างความบรรเทิงใจให้กับผู้คนที่ได้เห็นได้ไม่น้อย อย่างน้อย ๆ ก็พิสูจน์แล้วใน 90 ประเทศทั่วโลกแล้วว่าเกมเสี่ยงตายชีวิตแบบนี้เป็นที่นิยมได้มากแค่ไหน จริง ๆ แล้วนั้นหลักการของเกมประเภทนี้นั้นนำมาจากรูปแบบการเล่นกีฬาแบบหนึ่ง ที่เราอาจจะคุ้นชินในคำว่า Battle Royale แต่ก่อนที่จะมีคำนี้เกิดขึ้น คกแรกเริ่มของมันคือ Last man Standing หรือ Last Team Standing หมายถึงว่าผู้ที่อยู่รอดจนเป็นคนสุดท้ายได้คือผู้ชนะ เรียกได้ว่าเป็นรูปแบบเกมที่โหดร้ายมาก ๆ เลยทีเดียว
กลับมาที่เนื้อหาภายใน สควิดเกม ที่ว่าทีมผู้สร้างได้นำกาลเล่นเด็ก ๆ มาใช้นั้นถือว่าเป็นแนวความคิดที่ดีมาก ๆ เพราะทำให้กาลเล่นเหล่านั้นกลับมาเป็นที่พูดถึงในเกาหลีใต้ รวมไปถึงเป็นที่สนใจมาก ๆ ของผู้ชมทั่วโลก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลยคือฉากในตอนที่ 3 อันว่าด้วยขนมน้ำตาลเคลือบของเกาหลีใต้ที่เรียกว่า “ทัลโกนา” (Dalgona) โดยมีลักษณะเป็นแผ่นน้ำตาซึ่งลงลายของบางสิ่งไว้ วิธีการเล่นนั้นง่ายมาก เพียงใช้เข็มค่อย ๆ แทงตามรอยลายนั้น แล้วแกะออกมาเป็นให้รูปร่างที่สมบูรณ์ก็เป็นอันชนะ แต่ความยากมันอยู่ที่ขนมประเภทนี้นั้นบางราวกระดาษ และง่ายต่อการแตกหักเสียเหลือเกิน ผู้เล่นที่ทำขนมแตกไปเสียก่อนก็จะต้องโดนสังหารนั่นเอง